การค้นพบซากซูเปอร์โนวาหลงทางสองชิ้นโดยกล้องโทรทรรศน์ XMM-Newton ขององค์การอวกาศยุโรป (ESA) ในเขตชานเมืองของเมฆแมกเจลแลนขนาดใหญ่ (LMC) การค้นพบนี้สำคัญเพราะแหล่งกำเนิดแสงทั้งสองนี้ กลายเป็นเศษซากซูเปอร์โนวาที่ห่างไกลจากเสียงสะท้อนอื่นๆ ของการระเบิดของดาวฤกษ์ที่เรารู้จักมาก่อนซากซูเปอร์โนวาทั้งสองคือ J0624-6948 และ J0614-7251 โดยเศษซากทั้งสองนี้แสดงในแสงเอ็กซ์เรย์สามประเภทที่แตกต่างกัน ส่งผลให้มีสามสีในภาพ (เหลือง ม่วง และน้ำเงิน) การสังเกตครั้งนี้บ่งบอกถึงองค์ประกอบทางเคมีที่พบได้บ่อยในส่วนต่างๆ ของเศษซาก เช่น สีเหลืองในศูนย์กลางของ J0614-7251 บอกว่า ส่วนนี้ประกอบด้วยเหล็กเป็นส่วนใหญ่ ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์จำแนกซากซูเปอร์โนวานี้ว่าเป็นผลมาจากซูเปอร์โนวาชนิด Ia
การค้นพบนี้ช่วยให้เราเข้าใจพลวัตของละแวกใกล้เคียงของกาแล็กซีบ้านเกิดของเราได้ดีขึ้น โดยแสดงให้เห็นว่าสภาพแวดล้อมรอบๆ เมฆแมกเจลแลนขนาดใหญ่มีก๊าซที่มีประจุไฟฟ้ามากกว่าที่คาดไว้ ซึ่งเป็นผลมาจากการมีปฏิสัมพันธ์กับทางช้างเผือกและเมฆแมกเจลแลนขนาดเล็ก
Ref. https://www.esa.int/ESA_Multimedia/Images/2025/02/XMM-Newton_finds_two_stray_supernova_remnants
ผู้เรียบเรียง พ.อ.ท.หญิง ภัสสรัญ บุญหู้ ตรวจสอบโดย ร.ท.จักรพงศ์ ค้ามีผล
Leave a comment